วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

My First Program


My First Program



My first program คือการรวบร่วมชิ้นงานหลายๆชิ้นมาไว้ใน ไฟล์เดียว แบบไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องมีหลายชิ้นงาน ไว้ให้เกะกะ

Program Math Basic


มหัศจรรย์กับโจทย์คณิต



ฝึกทักษะทางสมองกับโจทย์คณิตศาสตร์แบบง่ายๆที่ใครก็ทำได้ เรารองมาพิสูจกัน

Math Basic


แบบฝึกหัดโจทย์คณิตศาสตร์ 



เรามาลองแก้ปัญการโจทย์คณิตศาสตร์แบบง่ายๆกันดีกว่า

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

30 เรื่องราวดีๆ ในการรับมือกับชีวิต

30 เรื่องราวดีๆ ในการรับมือกับชีวิต



1. อย่าทำลายความหวังของใคร เพราะเขาอาจเหลืออยู่แค่นั้น
2. เมื่อมีคนเล่าว่า เขามีส่วนในเหตุการณ์สำคัญอะไรก็ตาม เราไม่ต้องไปคุยทับ ปล่อยเขาฟุ้งไปตามสบาย
3. รู้จักฟังให้ดี โอกาสทองบางทีมันก็มาถึงแบบแว่วๆเหมือนกัน
4. หยุดอ่านคำอธิบายสถานที่ทางประวัติศาสตร์ซึ่งอยู่ตามริมทางเสียบ้าง
5. จะคิดการใด จงคิดการให้ใหญ่ๆ เข้าไว้ และเติมความสุข สนุกสนานลงไปด้วยเล็กน้อย
6. หัดทำสิ่งดีๆ ให้คนอื่นจนเป็นนิสัย โดยไม่จำเป็นต้องให้เขารู้
7. จำไว้ว่าข่าวทุกชนิดล้วนถูกบิดเบือนมาแล้วทั้งนั้น
8. เวลาเล่นเกมกับเด็กๆ ก็ปล่อยให้แกชนะไปเถอะ
9. ใครจะวิจารณ์เรายังไงก็ช่าง ไม่ต้องไปเสียเวลาตอบโต้
10. ให้โอกาสผู้อื่นเป็นครั้งที่ "สอง" แต่อย่าให้ถึง "สาม"
11. อย่าวิจารณ์นายจ้าง ถ้าทำงานกับเขาแล้วไม่มีความสุข ก็ลาออกซะ
12. ทำตัวให้สบาย อย่าคิดมาก ถ้าไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายแล้ว อะไรๆ มันก็ไม่สำคัญอย่างที่คิดไว้ทีแรกหรอก
13. ใช้เวลาน้อยๆในการคิดว่า "ใคร" เป็นคนถูก แต่ใช้เวลาให้มากในการคิดว่า "อะไร" คือสิ่งที่ถูก
14. เราไม่ได้ต่อสู้กับ "คนโหดร้าย" แต่เราต่อสู้กับ "ความโหดร้าย" ในตัวคน
15. คิดให้รอบคอบก่อนจะให้เพื่อนต้องมีภาระในการรักษาความลับ
16. เมื่อมีใครสวมกอดคุณ ให้เขาเป็นฝ่ายปล่อยก่อน
17. ยอมที่จะแพ้ในสงครามย่อยๆ ในเมื่อการแพ้นั้น จะทำให้เราชนะสงครามใหญ่
18. เป็นคนถ่อมตน ... คนเขาทำอะไรต่ออะไรสำเร็จกันมามากมายแล้วตั้งแต่เรายังไม่เกิด
19. ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์อันเลวร้ายเพียงใด ... สุขุมเยือกเย็นเข้าไว้
20. อย่าไปหวังเลยว่าชีวิตนี้จะมีความยุติธรรม
21. อย่าให้ปัญหาของเราทำให้คนอื่นเขาเบื่อหน่าย ถ้ามีใครมาถามเราว่า "เป็นอย่างไรบ้างตอนนี้"
ก็ตอบเขาไปเลยว่า "สบายมาก"
22. อย่าพูดว่ามีเวลาไม่พอ เพราะเวลาที่คุณมีมันก็วันละ 24 ชั่วโมง เท่าๆ กับ หลุยส์ ปาสเตอร์, ไมเคิลแอนเจลโล,
แม่ชีเทเรซา, ลีโอนาร์โด ดา วินซี, ทอมัส เจฟเฟอร์สัน หรือ อัลเบิร์ต ไอสไตน์ ที่เขามีนั่นเอง
23. เป็นคนใจกล้าและเด็ดเดี่ยว ... เมื่อเหลียวกลับไปดูอดีต     เราจะเสียใจในสิ่งที่อยากทำแล้วไม่ได้ทำ มากกว่าเสียใจในสิ่งที่ทำไปแล้ว
24. ประเมินตนเองด้วยมาตราฐานของตัวเอง ไม่ใช่ด้วยมาตราฐานของคนอื่น
25. จริงจังและเคี่ยวเข็ญตนเอง แต่อ่อนโยนและผ่อนปรนต่อผู้อื่น
26. อย่าระดมสมอง ... เพราะไอเดียดีๆ ใหม่ๆ และยิ่งใหญ่จนสามารถเปลียนแปลงโลกได้
ล้วนมาจาก บุคคลที่คิดค้นอยู่แต่เพียงผู้เดียวทั้งสิ้น
27. คงไว้ซึ่งความเป็นคนเปิดเผย อ่อนโยน และอยากรู้อยากเห็น (มิใช่สอดรู้สอดเห็น)
28. ให้ความนับถือแก่ทุกคนที่ทำงานเพื่อเลี้ยงชีพ ไม่ว่างานนั้นจะกระจอกงอกง่อยสักปานใด
29. คำนึงถึงการมีชีวิตให้ "กว้างขวาง" มากกว่าการมีชีวิตให้ "ยืนยาว"
30. มีมารยาทและอดทนกับคนที่สูงวัยกว่าเสมอ

ประวัติวันเกแห้งชาติและคำขวัญแต่ละปี

ประวัติวันเกแห้งชาติและคำขวัญแต่ละปี



คำขวัญวันเด็ก ปี 2554 - นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ

ที่ มาที่ไปของ คำขวัญวันเด็ก ........เด็กเป็นทรัพยากร บุคคลที่สำคัญยิ่งของประเทศชาติ เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าและมั่นคง โดยปกติอายุของเด็กที่เข้าร่วมฉลองในงานนี้จะต่ำกว่า 14 ปี เพื่อเตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ เด็กควรจะมีความขยันหมั่นศึกษาหาความรู้ รู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ มีระเบียบวินัย ขยันขันแข็ง ช่วยเหลือกันและกัน เสียสละรู้จักสิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งรักษาความสะอาดและรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสาธารณสมบัติ .......

.... ..ถ้าหากเด็กตระหนักถึงอนาคตของตนเองและของชาติโดยการปฏิบัติตนตามที่กล่าว มานั้น ก็จะได้ชื่อว่าเป็น "เด็กดี" และประเทศชาติก็จะเจริญรุ่งเรือง ใน ขณะเดียวกัน เพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ จึงได้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรกในวันจันทร์แรกของเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2498 และถือปฏิบัติเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2506 แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เพราะเป็นช่วงหมดฤดูฝนแล้วและเป็นวันหยุดราชการอีกด้วย ดังนั้นจึงถือปฏิบัติมาจนถึงวันนี้ ในปี พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจ สำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา ได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาดังนี้

  คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ในปีต่าง ๆ
ความเป็นมา
 


ใน ปี พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจ สำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา ได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาดังนี้

คำขวัญวันเด็ก ปี 2499 จอมพล ป.พิบูลสงคราม - จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม

คำขวัญวันเด็ก ปี 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า

คำขวัญวันเด็ก ปี 2503 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด

คำขวัญวันเด็ก ปี 2504 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย

คำขวัญวันเด็ก ปี 2505 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด

คำขวัญวันเด็ก ปี 2506 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด

คำขวัญวันเด็ก ปี 2507 งดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ

คำขวัญวันเด็ก ปี 2508 จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี

คำขวัญวันเด็ก ปี 2509 จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี

คำขวัญวันเด็ก ปี 2510 จอมพล ถนอม กิตติขจร - อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย

คำขวัญวันเด็ก ปี 2511 จอมพล ถนอม กิตติขจร - ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง

คำขวัญวันเด็ก ปี 2512 จอมพล ถนอม กิตติขจร - รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ

คำขวัญวันเด็ก ปี 2513 จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส

คำขวัญวันเด็ก ปี 2514 จอมพล ถนอม กิตติขจร - ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ

คำขวัญวันเด็ก ปี 2515 จอมพล ถนอม กิตติขจร - เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ

คำขวัญวันเด็ก ปี 2516 จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ

คำขวัญวันเด็ก ปี 2517 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ - สามัคคีคือพลัง

คำขวัญวันเด็ก ปี 2518 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ - เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี

คำขวัญวันเด็ก ปี 2519 หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช - เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้

คำขวัญวันเด็ก ปี 2520 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย

คำขวัญวันเด็ก ปี 2521 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ

คำขวัญวันเด็ก ปี 2522 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - เด็กไทยคือหัวใจของชาติ

คำขวัญวันเด็ก ปี 2523 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย

คำขวัญวันเด็ก ปี 2524 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก ปี 2525 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย

คำขวัญวันเด็ก ปี 2526 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก ปี 2527 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา

คำขวัญวันเด็ก ปี 2528 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก ปี 2529 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก ปี 2530 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก ปี 2531 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก ปี 2532 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก ปี 2533 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก ปี 2534 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา

คำขวัญวันเด็ก ปี 2535 - นายอานันท์ ปันยารชุน - สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม

คำขวัญวันเด็ก ปี 2536 - นายชวน หลีกภัย - ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม

คำขวัญวันเด็ก ปี 2537 - นายชวน หลีกภัย - ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม

คำขวัญวันเด็ก ปี 2538 - นายชวน หลีกภัย - สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม

คำขวัญวันเด็ก ปี 2539 - นายบรรหาร ศิลปอาชา - มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด

คำขวัญวันเด็ก ปี 2540 - พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ - รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด

คำขวัญวันเด็ก ปี 2541 - นายชวน หลีกภัย ขยัน - ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย

คำขวัญวันเด็ก ปี 2542 - นายชวน หลีกภัย ขยัน - ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย

คำขวัญวันเด็ก ปี 2543 - นายชวน หลีกภัย - มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย

คำขวัญวันเด็ก ปี 2544 - นายชวน หลีกภัย - มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย

คำขวัญวันเด็ก ปี 2545 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส

คำขวัญวันเด็ก ปี 2546 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี

คำขวัญวันเด็ก ปี 2547 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน

คำขวัญวันเด็ก ปี 2548 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด

คำขวัญวันเด็ก ปี 2549 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด

คำขวัญวันเด็ก ปี 2550 - พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ - มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข

คำขวัญวันเด็ก ปี 2551 - พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ - สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก ปี 2552 - นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี

คำขวัญวันเด็ก ปี 2553 - นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก ปี 2554 - นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ

คำที่คนมักเขียนผิด

คำที่คนมักเขียนผิด
สรร เช่น เลือกสรร สรรสร้าง (แกล้งเลือก) สรรหา (เลือกมา)

สรรค์ – (สร้าง) มักเข้าคู่กับ สร้างเป็น สร้างสรรค์ , สรรค์สร้าง เทียบกับ รังสรรค์ , รังสฤษฏ์ ที่หมายถึง สร้าง เหมือนกันครับ

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "แสบสันต์"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า แสบสัน
(เพราะถ้า สันต์ มันต้อง สุขสันต์ แล้ว กระมัง)
"สร้างสรรค์" กับ "สรรค์สร้าง" หรือ "สรรสร้าง"

โดย ทั่วไปเราทราบกันดีว่า คำว่า "สร้างสรรค์" นั้น ความหมายคือ การสร้างสิ่งที่ไม่มีให้มีขึ้น ความหมายตามพจนานุกรมให้ไว้ว่า...สร้างสรรค์  ก. สร้างให้มีให้เป็นขึ้น (มักใช้ทางนามธรรม) เช่น สร้างสรรค์ความสุขความเจริญให้แก่สังคม. ว. มีลักษณะริเริ่มในทางดี เช่น ความคิดสร้างสรรค์ ศิลปะสร้างสรรค์.

แต่ บางครั้ง เราพบว่า มีการใช้คำๆ นี้ สลับกัน จาก "สร้างสรรค์" เป็น "สรรค์สร้าง" โดยผู้ใช้ ที่ใช้ตาม อาจจะได้ยินมา (สัน-สร้าง) และเข้าใจว่า ต้องเขียนเป็น "สรรค์สร้าง" ซึ่งดูแปลก และเก๋ ดี แต่ความจริงแล้ว เมื่อใดก็ตามหากจะเขียนให้ออกเสียงต่างกัน นั่นต้องมาจากจุดประสงค์ ที่เข้าใจว่าต้องการสื่ออะไร เพราะการที่ใช้คำว่า "สรรค์สร้าง" การเขียนที่ถูกต้องคือ "สรรสร้าง" คือ ไม่มี "ค์" ต่อหลัง "สรร" เพราะโดยแท้จริงผู้ที่เข้าใจถูกต้องจะใช้คำนี้โดยสื่อว่า "สรร" นั่นคือ การหามา รวบรวมมา แล้วนำมาสร้าง ซึ่งความหมายจะแตกต่างจากคำว่า "สร้างสรรค์"

"สร้างสรรค์" กับ "รังสรรค์" ใช้อย่างไร

อีก คำหนึ่งที่เราเห็นใช้กันบ่อยหน และคิดว่าเป็นคำที่สวยงาม โดยขาดความเข้าใจว่า สองคำนี้ แม้จะความหมายเดียวกัน แต่การนำมาใช้นั้น ต้องเลือกใช้ให้ถูกต้อง ซึ่งเรามักจะพบใช้คำว่า "สร้างสรรค์" กันโดยส่วนใหญ่ แต่บางครั้งจะได้ยินหรือได้เห็นผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ใช้คำว่า "รังสรรค์"

คำว่า "รังสรรค์" โดยความหมายแล้ว จะใช้เฉพาะกับสิ่งที่กล่าวถึงนั้น เป็นงานศิลปะ งานจิตรกรรม เช่น "กาลิเลโอ คีนิ จิตรกรเอกผู้รังสรรค์งานศิลป์ ในพระที่นั่งอนันตสมาคม" เราจะไม่ใช้ว่า "ให้เรามาร่วมกัน รังสรรค์สังคมให้น่าอยู่" แต่จะใช้ "สร้างสรรค์สังคม"


คำนี้เขียนอย่างไรดี "สีสรรค์" "สีสัน" หรือว่า "สีสรร"

หลาย ครั้ง เราอาจจะเคยอ่านพบข้อเขียน "บรรยากาศในวันนั้น มีหลากหลายรายการที่ผู้จัดงานได้นำมาช่วยสร้างสีสรร" บ้างก็เขียนว่า "วันนี้ ทุกคนต่างสนุกสนานกันถ้วนหน้า ที่นักแสดงชื่อดัง ได้มาร่วมร้องเพลงสร้างสีสรรค์"

หากไม่คุ้นกับการเขียนคำนี้ หลายคนก็อาจจะผ่านตาไป ไม่ได้สนใจ แต่บางคนก็จะนึกขัดๆ ตา และถามตัวเองว่า จริงๆ แล้วคำนี้ เขียนว่า "สีสัน" "สีสรรค์" หรือว่า "สีสรร" กันแน่

หาก เปิดพจนานุกรม เพื่อค้นหาความหมายของคำว่า "สีสรรค์" เราจะไม่พบอะไร ส่วนคำว่า "สีสรร" เมื่อค้น ก็จะไม่พบความหมายเช่นกัน แต่อาจจะแปลความตามหลักการผสมคำได้ว่า สี+สรร ซึ่งจะรวมความหมายแปลได้ว่า สีที่สรร หรือ สีที่เลือกสรร มา ซึ่งความหมายก็จะไม่ตรงกับจุดประสงค์ที่ต้องการสื่อผ่านประโยคดังข้างต้น

ครั้น ค้นความหมายคำว่า "สีสัน" เราก็จะไม่พบความหมายในพจนานุกรมเช่นกัน ทว่า ได้มีการนำมาใช้เขียนเมื่อต้องการบรรยายในเชิงศิลปะ หรือ บรรยากาศ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยภาพ เสียงดนตรี หรือความรื่นรมย์ บันเทิงต่างๆ ซึ่งในหมู่นักเขียน จะเข้าใจในทิศทางเดียวกัน

เมื่อใด ที่เห็นว่า เหมาะควรจะใช้คำนี้ เราจึงเขียนว่า "สีสัน"


กฎ - รวมไปถึงคำอื่น ๆ เช่น กฎเกณฑ์ กฎหมู่ (ผู้คุมกฎ ก็ใช้แบบนี้ครับ) มักสะกดผิดเป็น คงไปนึกเทียบกับคำว่า ปรากฏ กบฏ

*ข้อสังเกต : ถ้าคำพยางค์เดียว ใช้ ฎ ชฎา แต่ถ้าคำสองพยางค์ ลงด้วย ฏ ปฏัก

กะทันหัน - (ไม่ใช้ กระทันหัน นะครับ ส่วน กะทัดรัด ก็เขียนแบบเดียวกัน)

กะพริบ - เช่น กะพริบตา มักเขียนผิดเป็น กระพริบกันมากด้วย

กังวาน (เสียง) - มักเขียนผิดเป็นกังวาล

ช็อก - สภาพที่ร่างกายเสียเลือดมาก , สะเทือนใจรุนแรง , ถูกกระแสไฟฟ้า เป็นคำใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า shock

เช็ก - ตรวจสิ่งต่าง ๆ เป็นคำใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า check (ส่วน เช็คหมายความถึงพวกเช็คที่เป็นสมุดครับ อย่างเช่นเขียนเช็คจ่ายสด มาจากคำอังกฤษว่า cheque)

โชก - ในคำว่า เหงื่อโชก ใช้คำว่า เหงื่อโซก หรือเหงื่อโซม ก็ได้ (เอามาใช้บ้างก็ดีนะครับ ผมก็เพิ่งรู้เหมือนกันเพราะได้ยินคำว่า เหงื่อซก ด้วย)

ตงิด - เช่น หิวตงิด ๆ ออกเสียงว่า ตะหงิดจึงมักเขียนผิดไปตามเสียงอ่าน

ตึก ๆ , ตึ้ก ๆ , ตึ้กตั้ก - เสียงหัวใจเต้นเวลาเหนื่อยหรือตกใจ

ทะนง หรือ ทระนง - ถือตัว , หยิ่ง เช่น ทะนงตน ทะนงศักดิ์

เท่ - มักเขียนผิดเป็น เท่ห์” (อย่างหลังนี่จะเขียนเป็นสนเท่ห์ที่แปลว่า สงสัย ครับ)

นั่นปะไร - เป็นไปอย่างที่พูด มักเขียนผิดเป็น นั่นประไร” (ผมว่า ช่างปะไร , ช่างมันปะไร ก็น่าจะใช้แบบเดียวกัน)

นัยน์ตา - (เจอบางคนใช้ นัยตา , นัยย์ตา หรือแม้แต่ นัยต์ตา ก็มี)

ปรานี - เอ็นดูด้วยความสงสาร มักเขียนผิดเป็น ปราณีซึ่งจะผิดความหมายไปเลย เพราะ ปราณีหมายถึง ผู้มีชีวิต

ปาฏิหาริย์ - (บางคนใช้ ปาฏิหาร แบบหารเลขมาเลย)

ผล็อย - เช่น หลับผล็อย (หลับโดยเร็ว) ใช้ว่า ผ็อย หรือ ผ็อย ๆ ก็ได้

แผล็บ , แผล็บ ๆ - เช่น แลบลิ้นแผล็บ ๆ (เผลอแผล็บเดียว ก็ใช้ได้ครับ) จะใช้ว่าแพล็บ หรือ แพล็บ ๆ ก็ได้

พรรค์ - เช่น คนพรรค์นั้น (ต้องมี ค์ ด้วยนะครับ)

มนตร์ - เช่น ร่ายมนตร์ เวทมนตร์ แต่คำว่า มนต์จะใช้เกี่ยวกับพิธีการทางศาสนา เช่น สวดมนต์

มุก - ทำให้ขบขัน เป็นคำเก็บใหม่ มักเขียนผิดเป็น มุข

เลือนราง - ไม่ชัดเจน , พอระลึกได้บ้าง

โลกันตร์ - ชื่อขุมนรกที่มีการลงโทษหนักที่สุด ไม่ผุดไม่เกิด มักเขียนผิดเป็น โลกันต์

สุ้มเสียง - โบราณเขียนเป็น ซุ่มเสียง” (จะใช้อย่างหลังนี้ก็ได้ครับ แต่ไม่นิยมกันแล้ว)

หน็อยแน่ - คำเปล่งไม่พอใจหรือผิดหวัง มักเขียนผิดเป็น หนอยแน่

หลับใหล - เช่น ในบทโคลงลิลิตพระลอว่า สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่

เหงื่อกาฬ - เหงื่อของคนใกล้จะตาย โดยปริยายหมายถึง เหงื่อแตกด้วยความตกใจ

อาถรรพ์ - อำนาจลึกลับที่เชื่อว่าบันดาลให้มีความเป็นไป เช่น ต้องอาถรรพ์ มีอาถรรพ์ ใช้ว่า อาถรรพณ์ หรือ อาถรรพณะ ก็ได้ แต่นิยมใช้คำแรกมากกว่า เพราะเขียนและอ่านชัดเจนดี

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "กระสันต์"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า กระสัน
(ดูตัวอย่างคำแรกซะก่อน -_-')
อันนี้ลองยืนยันได้ครับเนื่องจากพอพิมพ์คำว่า กระสันต์ ลงไป หาไม่เจอครับ
แต่เมื่อพิมพ์ใหม่โดยสะกดให้ถูก (ทั้งที่หน้าตาไม่คุ้นเลย) ว่า กระสัน
ก็ได้คำแปลออกมาดังต่อไปนี้
lust, See also: feel a sexual desire; crave; hunger for
Example: ความรู้สึกกระสันเกิดขึ้นทันทีเมื่อเขานึกถึงสาวคนรัก,
Thai definition: กระวนกระวายในกาม
ดังนั้น คราวหน้าที่จะเขียนเล่าว่าคุณเกิด "กระวนกระวายในกาม" ขึ้นมานะ
สะกดให้ถูกๆ นะครับพี่น้องเหอะๆ

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "กระทันหัน"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า กะทันหัน (นิวก็ใช้ กระ- มาตลอดเลยล่ะ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "กาละเทศะ"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า กาลเทศะ
(นี่ก็สับสนบ่อยมาก เพราะผมคิด (ไปเองมั่วๆ) ว่า
เมื่อ เทศะ มันก็ต้อง กาละ ให้มัน balance กันสิ -_-')

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "กิจลักษณะ"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า กิจจะลักษณะ
(เอาเข้าไป อันนี้ดันกลับกันกับอันข้างบน
กล่าวคือ ที่ถูกต้อง จะต้อง "-ะ หน้า -ะ หลัง" ครับ)
(ระวัง !อย่าสับสนระหว่าง กาลเทศะ กับ กิจจะลักษณะ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "คึ่นช่าย"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ขึ้นฉ่าย อันนี้คนโดยมากเขียนผิดเพราะไปเขียนตามเสียงพูด
เคยคิด (เอาเองอีกแล้ว) ว่า มันไม่น่าจะสะกดว่า "ขึ้น"เพราะมันดูเป็นคำไทยเกินไป

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "คฤหาสถ์"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า คฤหาสน์ (อันนี้ผิดเพราะมีตัวอย่างผิดๆ ให้เห็นเยอะเกินไปครับ
ใครๆ ก็เขียนผิดเป็น คฤหาสถ์ ทั้งนั้น เราเลยจำกันผิดๆ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ดุลย์การค้า"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ดุลการค้า (คำนี้ตามสื่อทั้งหลายก็ผิดให้เห็นเป็นระยะนะครับ)

*** เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ตกร่องปล่องชิ้น"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ตกล่องปล่องชิ้น
(อันนี้ได้ยินคนอ่าน ตก "ร่อง" ปล่อง ชิ้น มาโดยตลอดเพราะคงคิดว่าเหมือน
 'แผ่นเสียงตกร่อง' นั่นเองก็เลยเอามาเขียนผิดๆ ตามไปด้วย)
จะบอกว่าคำนี้เห็นเขียนผิดในเล้าเป็ดของเราบ่อยมากอิๆ

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ตะกละตะกราม"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ตะกละตะกลาม
(ตะกรุมตะกราม แต่ ตะกละตะกลาม ครับจะ ร.เรือ ก็ต้อง ร.เรือ กันไปทั้งหน้าหลัง
จะ ล.ลิง ก็ต้อง ล.ลิง กันไปทั้งหน้าหลังเหมือนกัน ไม่ต้องมา mix and match)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ทรมานทรกรรม"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ทรมาทรกรรม(มันคือ ทอ-ระ-มา-... ครับ ไม่ใช่ ทอ-ระ-มาน-...)
คำนี้ยอมรับเลยว่าไม่เคยอ่านและเขียนถูกมาตลอดชีวิต ฮ่าๆ

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ไนท์คลับ"
ซึ่ง ที่จริงต้องสะกดว่า ไนต์คลับ(อันนี้แม้ไม่คุ้นอย่างแรง ก็ต้องเชื่อตามราชบัณฑิตฯ ล่ะครับต้องโทษพวกป้ายทั้งหลายที่ชอบสะกดผิดๆทำให้เราเห็นแล้วจำผิดๆ มาด้วย )

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "แบหรา / แผ่หรา"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า แบหลา / แผ่หลา (อ้าว เหรอ -_- อันนี้ผมก็ผิดประจำ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "พาลจะเป็นลม"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า พานจะเป็นลม (อ้าว ผิดอีกแล้วเหรอ เป็นลมดีกว่า)
หมายเหตุ : พาน แปลว่า เกือบ ครับ

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "พิธีรีตรอง"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า พิธีรีตอง
(ผมว่าผมสะกดผิดเพราะดันไปจำสลับกับ ซีตรอง แหงๆ เลย)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "เพชรฆาต"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า เพชฌฆาต

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "มะล่อกมะแล่ก"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ม่อลอกม่อแลก
(เอ่อ คือ ... -_-' ลองอ่านเวอร์ชันที่ถูกออกมาดังๆ แล้วหลอนมากเลยครับ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ร้างลา / เลิกลา"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ร้างรา / เลิกรา (อันนี้เคยได้ยินแบบที่ผิดบ่อยๆ ในเพลงฮิตๆ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "เลือนลาง"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า เลือนราง (ผิดเพราะออกเสียงกันไม่ชัดเองครับ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ฤกษ์ผานาที"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ฤกษ์พานาที (อันนี้เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการที่เขียนผิด
เพราะอ่านผิดครับผมเองยังได้ยินคนอ่าน เริก-ผา อยู่เยอะมาก เลยจำกันผิดๆ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ลาสิกขาบท"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ลาสิกขา (แล้ว -บท มาจากไหน? )

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ริดรอน"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ลิดรอน(คำนี้ผมก็ผิดมาตลอดชีวิตครับ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "เลือดกลบปาก"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า เลือดกบปาก
กบ ๖ ว. เต็มมาก, เต็มแน่น, เช่น ข้าวกบหม้อ มะพร้าวมีลูกกบคอ เลือดกบปาก

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "วาทยากร"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า วาทยกร (เนื่องจากลากเสียงยาวเกินไป เป็น วาทยา~กร
ก็เลยนึกว่าสะกดแบบนี้ไงครับที่จริง -ทะ-ยะ- ออกเพียงครึ่งเสียงเท่านั้น)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "สับปรับ"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า สับปลับ (เป็นเพราะผมเอาไปปนกับคำว่า "จับ-ปรับ" แน่เลย)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "สัมนา"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า สัมมนา (อย่าไปจำว่า seminar มี m ตัวเดียว สัมนา ก็ต้องมี ม.ม้า ตัวเดียว อย่างนี้ล่ะครับ )

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "สูญญากาศ"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า สุญญากาศ
(สระ อุ เสียงสั้นนะครับ ไม่ใช่สระอูเสียงยาว
คนจะเอาไปปนกับ สูญ ในคำว่า สูญสิ้น กระมังผมว่า เลยจำกันผิดๆ)